วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

กีฬาสีโรงเรียนทุ่งสง

กีฬาสีโรงเรียนทุ่งสง


ในการแข่งขันมีการจัดการแข่งขันประเภทลาน และ ประเภทลู่โดยมีการมอบเกียรติบัตรให้นักเรียนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศหรือที่ 1 นั่นเอง  ซึ่งในการจัดการแข่งขันมีคณะสีดังนี้ 
1 สีแดง
2 สีเขียว
3 สีแสด
4 สีเหลือง
5 สีฟ้า
และผลของการแขงขันนั้นเป็นไปตามที่คาดไว้ว่า สีฟ้า เป็นผู้ชนะในการแข่งขันกีฬาสีโรงเรียนทุ่งสงโดยกวาดรางวัลไปมากมาย 



กีฬาสีที่รอคอย~

     เป็นที่รู้กันดีในหมู่ชาวม่วงขาวทุกๆคนว่า ทุกๆปีจะมีการจัดการแข่งขันกีฬาสีภายในโรงเรียน แต่ปีที่แล้วทางโรงเรียนมีอุปสรรคมากมาย ที่ไม่สามารถจัดการแข่งขันกีฬาสีขึ้นได้เพราะโรงเรียน กำลังก่อสร้างสนามกีฬาสำหรับใช้ในการแข่งขัน ชาวม่วงขาวทุกคนถึงกับเซง และต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าเมื่อไรกี่ฬาสีจะมาถึงสักที !

            แต่ปีนี้เป็นปีทองของทุ่งสงมากๆ ไม่ว่าโรงเรียนของเราจะหยิบจับหรือจะทำอะไรก็ดูดี และประสบความสำเร็จเป็นส่วนใหญ่ แต่สิ่งหนึ่งที่โรงเรียนเราไม่ค่อยได้พูดถึงสักเท่าไรก็เรื่องกีฬาสีในปีนี้ ว่ากันว่าจะมีการจัดสร้างอัฒจรรย์อีก แล้วพวกเราจะได้จัดกีฬาสีมั้ยเนี่ย ? ไม่แน่น่า ! บางทีอัฒจรรย์แสนสวยของชาวม่วงขาวอาจจะสร้างเสร็จทันใช้งานกีฬาก็ได้ คิดในแง่ดีเข้าไว้ แต่ถึงแม้ว่าอัฒจรรย์จะสร้างเสร็จ หรือไม่เสร็จก็ตาม กีฬาสีที่รอคอยของชาวม่วงขาวจะได้จัดหรือไม่ในปีนี้ก็ตาม พวกเราก็ดีใจเพราะพวกเรากำลังจะได้อัฒจรรย์ใหม่ ไว้ให้รุ่นน้องๆใช้กันอีกหลายปี บางทีการงดกีฬาสีปีนี้อีกสักปีแล้วสามารถทำให้ทัศนียภาพของสนามโรงเรียนทุ่งสงดูดีขึ้นอีกมาก มันก็คงจะคุ้มอยู่น่ะ แต่ไม่ว่ายังไงก็ภาวนาให้อัฒจจรย์สร้างเสร็จเร็วๆน่ะ กีฬาสีที่รอคอยจะได้มาถึงสักที

                 2 ปีที่แล้วโรงเรียนทุ่งสงได้จัดกีฬาสีขึ้น ภาพแห่งความสนุกสนาน ความสามัคคี บรรยากาศการแข่งขันที่เต็มไปด้วยเสียงหัวเราะและเสียงเชียร์ยังคงดังกึกก้องในใจของลูกม่วงขาวทุกคน แน่นอนว่าเด็กนักเรียนแต่ละคนก็อยากจะลิ้มรสชาติความสนุกสนานของกีฬาสีที่เลื่องชื่อนี้เป็นิยิ่งนัก โดยเฉพาะเด็กนักเรียนที่ยังไม่เคยได้ร่วมการแข่งขันกีฬาสีอย่างน้องๆ ม.1-2 และ พี่ ๆ ม. 4-5  ก็อยากได้ร่วมกิจกรรมนี้เป็นอย่างมาก ในอำเภอทุ่งสงนี้คงจะไม่มีกีฬาสีที่ไหนจะสนุกเท่านี่โรงเรียนทุ่งสงของเราได้อีกแล้ว ช่วงที่มีการจัดการแข่งขันคงไม่ต้องบอกเลยว่า แต่ละสีเชียร์ทีมของตัวเองกันอย่างสุดฤทธิ์สุดเดช ทั้งเสียงโห่ร้อง หยอกเย้ากับสีอื่นๆอย่างสนุกสนาน ต้องขอบอกเลยว่ากีฬาสีนำมาซึ่งความสุข ความสนุก ความสามัคคี เเละความรักใคร่ปรองดองของพี่น้องชาวม่วงขาวอย่างแท้จริง รุ่นพี่ต่างพารุ่นน้องเชียร์กีฬา รุ่นน้องก็คอยช่วยพี่เสริ์ฟน้ำนักกีฬากันอย่างเต็มที่ แต่ละสีก็มีเอกลักษณ์การเชียร์แตกกต่างกัน แต่สิ่งที่แถมมากับความสนุกสนานของกีฬาสีนั่นก็คือ “แดด” ที่เผาผิวอันบอบบางของกองเชียร์ที่น่ารัก ~ ถึงแม้ว่ากีฬาสีจะทำให้กองเชียร์อย่างพวกเราดำแล้วดำอีก แต่ก็คุ้มนี่นา เพราะปีหนึ่งมีครั้งเดียว ยิ่งพวกเราเรียน ม.ปลาย ก็คงได้อยู่ร่วมกีฬาสีอีกไม่กีปี ถ้าปีนี้ไม่มีกีฬาสีอีก พวกเราก็คงได้อยู่ร่วมกีฬาสีแค่ 2 ปี ดังนั้น หากกีฬาจัดขึ้นเมื่อไร ชาวม่วงขาวอย่างพวกเราก็จะร่วมกิจกรรมกีฬาสีอย่างสุดๆไปเลย เพราะถ้าวันไหน พวกเราได้พ้นจากรั้วม่วงขาวไปแล้ว พวกเราก็คงจะคิดถึงกีฬาสีแห่งมิตรภาพนี้แน่ๆ ในเมื่อวันนี้เรายังมีโอกาสได้ร่วมกีฬาสีอยู่ ก็ขอร่วมกิจกรรมนี้อย่างเต็มที่ เพื่อที่จะได้บันทึกความทรงจำดีๆ ของกีฬาสีนี้ไว้นานๆ

จริยธรรมและพระบัญญัติคอมพิวเตอร์



 จริยธรรมและพระบัญญัติคอมพิวเตอร์









 เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบต่อสังคมเป็นอย่างมาก
 โดยเฉพาะประเด็นจริยธรรมที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศที่จำเป็นต้องพิจารณารวมทั้งเรื่องความปลอดภัยของระบบสารสนเทศการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหากไม่มีกรอบจริยธรรมกำกับไว้แล้ว สังคมย่อมจะเกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาไม่สิ้นสุด รวมทั้งปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ด้วย ดังนั้นหน่วยงานที่ใช้ระบบสารสนเทศจึงจำเป็นต้องสร้างระบบความปลอดภัยเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว


ประเด็นเกี่ยวกับจริยธรรม

        คำจำกัดความของจริยธรรมมีอยู่มากมาย เช่น “ หลักของศีลธรรมใ นแต่ละวิชาชีพเฉพาะ ”
“ มาตรฐานของการประพฤติปฏิบัติในวิชาชีพที่ได้รับ ” “ ข้อตกลงกันในหมู่ประชาชนในการกระทำสิ่งที่ถูกและหลีกเลี่ยงการกระทำสิ่งที่ผิด ” หรืออาจสรุปได้ว่า จริยธรรม (Ethics) หมายถึง หลักของความถูกและความผิดที่บุคคลใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ (Laudon & Laudon, 1999:105)


กรอบความคิดเรื่องจริยธรรม

        หลักปรัชญาเกี่ยวกับจริยธรรม มีดังนี้ (Laudon & Laudon, 1999)
R.O. Mason และคณะ ได้จำแนกประเด็นเกี่ยวกับจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็น 4 ประเภทคือ ความเป็นส่วนตัว (Privacy) ความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy) ความเป็นเจ้าของ (Property) และความสามารถในการเข้าถึงได้ (Accessibility) (O'Brien, 1999: 675; Turban, et al., 2001: 512)
1) ประเด็นความเป็นส่วนตัว (Privacy) คือ การเก็บรวบรวม การเก็บรักษา และการเผยแพร่ ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับปัจเจกบุคคล
2) ประเด็นความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy) ได้แก่ ความถูกต้องแม่นยำของการเก็บรวบรวมและวิธีการปฏิบัติกับข้อมูลสารสนเทศ
3) ประเด็นของความเป็นเจ้าของ (Property) คือ กรรมสิทธิ์และมูลค่าของข้อมูลสารสนเทศ (ทรัพย์สินทางปัญญา)
4) ประเด็นของความเข้าถึงได้ (Accessibility) คือ สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศได้และการจ่ายค่าธรรมเนียมในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศ

การคุ้มครองความเป็นส่วนตัว (Privacy)
  • ความเป็นส่วนตัวของบุคคลต้องได้ดุลกับความต้องการของสังคม
  • สิทธิของสาธารณชนอยู่เหนือสิทธิความเป็นส่วนตัวของปัจเจกชน

การคุ้มครองทางทรัพย์สินทางปัญญา

        ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยปัจเจกชน หรือนิติบุคคล ซึ่งอยู่ภายใต้ความคุ้มครองของกฎหมายลิขสิทธิ์ กฎหมายความลับทางการค้า และกฎหมายสิทธิบัตร
        ลิขสิทธิ์ (copyright) ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 หมายถึง สิทธิ์แต่ผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น ซึ่งเป็นสิทธิ์ในการป้องกันการคัดลอกหรือทำซ้ำในงานเขียน งานศิลป์ หรืองานด้านศิลปะอื่น ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวลิขสิทธิ์ทั่วไปมีอายุห้าสิบปีนับแต่งานได้สร้างสรรค์ขึ้น หรือนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรกในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีอายุเพียง 28 ปี
        สิทธิบัตร (patent) ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 หมายถึง หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ โดยสิทธิบัตรการประดิษฐ์มีอายุยี่สิบปีนับแต่วันขอรับสิทธิบัตร ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะคุ้มครองเพียง 17 ปี

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Crime)


  
        อาชญากรรมคอมพิวเตอร์อาศัยความรู้ในการใช้เครื่องมือคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่น โดยสามารถทำให้เกิดความเสียหายด้านทรัพย์สินเงินทองจำนวนมหาศาลมากกว่าการปล้นธนาคารเสียอีก นอกจากนี้อาชญากรรมประเภทนี้ยากที่จะป้องกัน และบางครั้งผู้ได้รับความเสียหายอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ
•  เครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นเครื่องประกอบอาชญากรรม
•  เครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นเป้าหมายของอาชญากรรม
•  การเข้าถึงและการใช้คอมพิวเตอร์ที่ไม่ถูกกฎหมาย
•  การเปลี่ยนแปลงและการทำลายข้อมูล
•  การขโมยข้อมูลข่าวสารและเครื่องมือ
•  การสแกมทางคอมพิวเตอร์ (computer-related scams)


การรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร

        การควบคุมที่มีประสิทธิผลจะทำให้ระบบสารสนเทศมีความปลอดภัยและยังช่วยลดข้อผิดพลาด การฉ้อฉล และการทำลายระบบสารสนเทศที่มีการเชื่อมโยงเป็นระบบอินเทอร์เน็ตด้วย ระบบการควบคุมที่สำคัญมี 3 ประการ คือ การควบคุมระบบสารสนเทศ การควบคุมกระบวนการทำงาน และการควบคุมอุปกรณ์อำนวยความสะดวก (O'Brien, 1999: 656)

การควบคุมระบบสารสนเทศ (Information System Controls)
•  การควบคุมอินพุท
•  การควบคุมการประมวลผล
•  การควบฮาร์ดแวร์ (Hardware Controls)
•  การควบคุมซอฟท์แวร์ (Software Controls)
•  การควบคุมเอาท์พุท (Output Controls)
•  การควบคุมความจำสำรอง (Storage Controls)

การควบคุมกระบวนการทำงาน (Procedural Controls)
•  การมีการทำงานที่เป็นมาตรฐาน และมีคู่มือ
•  การอนุมัติเพื่อพัฒนาระบบ
•  แผนการป้องกันการเสียหาย
•  ระบบการตรวจสอบระบบสารสนเทศ (Auditing Information Systems)

การควบคุมอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่น (Facility Controls)
•  ความปลอดภัยทางเครือข่าย (Network Security)
•  การแปลงรหัส (Encryption)
•  กำแพงไฟ (Fire Walls)
•  การป้องกันทางกายภาพ (Physical Protection Controls)
•  การควบคุมด้านชีวภาพ (Biometric Control)
•  การควบคุมความล้มเหลวของระบบ (Computer Failure Controls)